• ข้อมูลหมู

    การเลี้ยงหมูของเกษตรกรไทย แต่เดิมเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้าน เลี้ยงไว้โดยให้กินเศษอาหารที่มีอยู่ หรือที่เก็บรวบรวมได้ตามบ้าน ผู้เลี้ยงไว้เป็นจำนวนมากๆ ได้ มักทำอาชีพอื่นๆ อยู่ด้วย เช่น เป็นเจ้าของโรงสีเป็นต้น ผู้เลี้ยงหมูแต่ก่อนมักเป็นชาวจีน รองลง มาก็เป็นผู้เลี้ยงชาวไทยเชื้อสายจีน

    ปัจจุบันการเลี้ยงหมู ก้าวหน้ากว่าแต่ก่อนมาก การเลี้ยงดู ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์ มีการศึกษา และพัฒนาอยู่ตลอด เวลา แต่เดิมหมูให้ลูกได้ปีละหนึ่งครั้ง ลูกที่ให้แต่ละครั้งก็ไม่แน่นอน บางครั้งก็น้อย บางครั้งก็มาก ครั้งใดที่ให้ลูกมาก อัตราการตายของลูกก็จะสูง ส่วนปัจจุบัน หมูสามารถให้ลูกได้ถึง ๕ ครอกใน ระยะเวลา ๒ ปี แต่ละครอกมีลูกหมูหลายตัว อัตราการเลี้ยงให้อยู่รอดก็สูง ลูกหมูหลังคลอดใช้ระยะเวลาเลี้ยงไป จนถึงน้ำหนักส่งตลาดเพียง ๕ เดือนกว่าเท่านั้น

    แหล่งที่มีการเลี้ยงหมูกันมากในประเทศไทย ได้แก่ แถบบริเวณภาคกลางของประเทศ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี ชลบุรี สุพรรณบุรี และฉะเชิงเทรา เป็นต้น หมูที่เลี้ยงทางแถบภาคกลางนี้ จะไม่มีพันธุ์พื้นเมืองเลย เป็นหมูพันธุ์ต่างประเทศทั้งหมด หมูพันธุ์ต่างประเทศที่นิยมเลี้ยงกัน ได้แก่ พันธุ์แลนด์เรซ พันธุ์ลาร์จไวต์ พันธุ์ดูร็อก และหมูพันธุ์ลูกผสมต่างๆ เป็นต้น

  • การเลือกพันธุ์หมู

    จำแนกพันธุ์สุกรตามการใช้ประโยชน์

    • ประเภทมัน เป็นสุกรรูปร่างตัวสั้น อ้วนกลม มีมันมาก สะโพกเล็ก โตช้า เช่น สุกรพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย
    • ประเภทเนื้อ รูปร่างสั้น ไหล่และสะโพกใหญ่ เด่นชัด ลำตัวหนาและลึก ได้แก่ พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ เบอร์กเชียร์ แฮมเเชียร์ เป็นต้น
    • ประเภทเบคอน รูปร่างใหญ่ ลำตัวยาว มีเนื้อมาก ไขมันน้อย ได้แก่ พันธุ์แลนด์เรซ ลาร์จไวท์ เป็นต้น

    พันธุ์หมูจากต่างประเทศ และพันธุ์หมูพื้นเมืองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย

    พันธุ์ลาร์จไวท์
    – ถิ่นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ
    – หูตั้ง ลำตัวยาว กระดูกใหญ่ โครงใหญ่ หน้าสั้น หัวใหญ่
    – โตเต็มที่น้ำหนัก 200-250 กิโลกรัม
    – ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง
    – มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว
    – เหมาะที่ใช้เป็นทั้งสายพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

    01

    พันธุ์แลนด์เรซ
    – ถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์ค
    – มีสีขาว หูปรก ลำตัวยาว
    – มี ซี่โครงมากถึง 16-17 คู่ (สุกรปกติมีกระดูกซี่โครง 15-16 คู่)
    – โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม
    – ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว
    – พันธุ์แลนด์เรซเหมาะที่ใช้เป็นสายแม่พันธุ์

    landles

    พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่
    – ถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกา
    – หูปรกเป็นส่วนใหญ่ ลำตัวสั้นกว่าลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ ลำตัว หนา หลังโค้ง
    – โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม
    – ให้ลูกไม่ดกเฉลี่ย 8-9 ตัว เลี้ยงลูกไม่เก่ง หย่านมเฉลี่ย 6-7 ตัว
    – มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศทุกชนิด
    – นิยมใช้เป็นสายพ่อพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมที่สวยงาม

    พันธุ์เปียแตรง
    – ถิ่นกำเนิดจากประเทศเบลเยี่ยม
    – ลำตัวมีสีขาวจุดดำ ลายสลับ มีรูปร่างสวยงาม กล้ามเนื้อเป็นมัดๆ แผ่นหลังกว้างเป็นปีก สะโพกเห็นเด่นชัด
    – โตเต็มที่ 150-200 กิโลกรัม
    – มีข้อเสีย คือ ตื่นตกใจช็อคตายง่าย และโตช้า
    – นิยมใช้ผสมข้ามพันธุ์ในการผลิตสุกรขุน

    สุกรพันธุ์พื้นเมืองในไทย
    สุกรพันธุ์ไหหลำ
    – เลี้ยงตามภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย
    – เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในสุกรพันธุ์พื้นเมือง
    – มีสีดำปนขาว ตามลำตัวจะมีสีดำ ท้องมักมีสีขาว จมูกยาว คางย้อย ไหล่กว้าง หลังแอ่น สะโพกเล็ก
    – อัตราการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ได้ดีกว่าสุกรพื้นเมืองอื่นๆ

    สุกรพันธุ์ราดหรือพวง
    – เลี้ยงตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้
    – ขนสีดำตลอดตัว มีสีขาวปนแซมเล็กน้อย จมูกยาว ลำตัวสั้นป้อม หลังแอ่น ใบหูตั้งเล็ก ผิวหนังหยาบ

    สุกรพันธุ์ควาย
    – เลี้ยงตามภาคเหนือและภาคกลาง
    – ลักษณะคล้ายสุกรไหหลำ แตกต่างกันที่พันธุ์ควายจะมีสีดำ หูใหญ่ ปรกเล็กน้อย มีรอยย่นตามตัว
    – มีขนาดใหญ่ กว่าสุกรพื้นเมืองพันธุ์อื่น

    สุกรป่า
    – เลี้ยงตามภาคต่าง ๆ ทั่วไป
    – มีขนหยาบแข็ง สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำเข้ม หรือสีดอกเลา หนังหนา หน้ายาว จมูกยาวและแหลมกว่าสุกรพื้นเมือง ขาเล็กและเรียว
    – มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น

    แหล่งที่มาข้อมูล: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  • การเตรียมโรงเรือน

    โรงเรือนสุกรแบบทั่วไป
    คอกสุกรนิยมสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดินอยู่ตรงกลาง มีรางอาหารออยู่ด้านหน้า ก๊อกน้ำอัตโนมัติอยู่ด้านหลังคอก ก๊อกน้ำสูงจากพื้นคอกประมาณ 50 เซนติเมตร ขนาดของคอก 4×3.5 เมตร ผนังกั้นคอกสูง 1 เมตร ขังสุกรขนาด 60-100 กิโลกรัม ได้ 8-10 ตัว ส่วนความยาวของโรงเรือนก็ขึ้น อยู่กับจำนวนของสุกรที่เลี้ยงว่าต้องการความยาวของโรงเรือนเท่าใด สุกรถ้าเลี้ยงบนพื้นคอนกรีต จะใช้พื้นที่ประมาณ 1.2-1.8 ตารางเมตร/ตัว

    ชนิดของโรงเรือนสุกร
    – คอกพ่อพันธุ์ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1.2 เมตร (กว้างx ยาว x สูง)
    – คอกแม่พันธุ์ท้องว่างขนาด 0.6 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
    – คอกแม่พันธุ์อุ้มท้องขนาด 1.2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
    – คอกคลอด ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
    – คอกสุกรเล็ก (ลูกสุกรหย่านมหรือน้ำหนักประมาณ 6-20 กิโลกรัม) ขนาด 1.5 x 2 เมตร สูง 0.8 เมตร
    – คอกสุกรรุ่น (สุกรขนาด 20-35 กิโลกรัม) ขนาด 2 x 3 เมตร สูง 1 เมตร

    DSC03533-1
    kokmoo

    โรงเรือนสุกรแบบหลุม
    – ควรสร้างบนที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
    – สร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก
    – วัสดุการก่อสร้างโรงเรือน ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ตั้งแต่โครงสร้างจนถึงหลังคา เช่น ไม้ยูคาลิปตัสสำหรับทำเสาและโครงหลังคาใช้โครงไม้ไผ่ มุงหลาคาด้วยหญ้าคา แฝก จาก หรือกระเบื้อง
    – พื้นที่สร้างคอกคำนวณจาก จำนวนหมู 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.5-2 ตารางเมตร

    ขั้นตอนการสร้างคอกหมูหลุม
    – ขุดดินออกในส่วนพื้นที่ที่จะสร้างคอก ลึก 90 เซนติเมตร
    – ใช้อิฐบล็อกกั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูงประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อกั้นดินและฝนสาดลงในหลุม
    – ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ประกอบด้วย ขี้เลื่อยหรือแกลบ 100 ส่วน ดินส่วนที่ขุดออกหรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน เกลือ 0.3-0.5 ส่วน รำละเอียด 1 ส่วน

  • การเลี้ยงดูและให้อาหาร

    การเลี้ยงดูหมู

    การจัดการพ่อหมู 

    • สุกรที่จะนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือนขึ้นไป
    • ให้อาหารโปรตีน 16 % ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม
    • การให้อาหารควรดูสภาพสุกรด้วยว่าอ้วนหรือผอม

    หมูพ่อพันธุ์

    การจัดการแม่หมู

    • ให้อาหารโปรตีน 16% ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม
    • แม่สุกรสาวควรมีอายุ 7-8 เดือน น้ำหนัก 100-120 กิโลกรัม จึงนำมาผสมพันธุ์ (เป็นสัดครั้งที่ 2-3)
    • ผสมพันธุ์แล้วควรลดอาหารให้เหลือ 1.5-2 กิโลกรัม
    • ตั้งท้องได้ 90-108 วัน ควรเพิ่มอาหารเป็น 2-2.5 กิโลกรัม และเมื่อตั้งท้องได้ 108 วันคลอดลูก ให้ลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม
    • แม่สุกรควรอยู่ในสภาพปานกลาง คือ ไม่อ้วน หรือผอมเกินไป
    • แม่สุกรจะให้ลูกดีที่สุดในครอกที่ 3-5 และควรคัดแม่สุกรออกในครอกที่ 7 หรือ8

    การจัดการลูกสุกรแรกคลอด – หย่านม

    • ลูกสุกรในระยะ 15 วันแรก ต้องการความอบอุ่นต้องจัดหาไฟกก อุณหภูมิประมาณ 32-34 องศาเซลเซียส
    • ลูกสุกรอายุ 1-3 วัน ให้ฉีดธาตุเหล็กเข้ากล้ามเนื้อ ตัวละ 2 ซี.ซี เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง
    • ลูกสุกรอายุ 10 วัน เริ่มให้อาหารสุกรนมหรืออาหารสุกรอ่อน เพื่อฝึกให้ลูกสุกรกินอาหาร

    การจัดการหมูขุน

    • ควรเริ่มเลี้ยงสุกรขุน ตั้งแต่ระยะที่สุกรนั้นหย่านม โดยมีน้ำหนักที่ประมาณ 20 กิโลกรัม
    • ใช้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ และให้สุกรกินเต็มที่ประมาณวันละ 1 – 2 กิโลกรัม
    • เปลี่ยนอาหารโดยใช้อาหารที่มีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ เมื่อสุกรขุนมีน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม
    • ให้สุกรกินอาหารวันละ 2.5 – 3.5 กิโลกรัม จนถึงระยะที่จะส่งตลาดเมื่อสุกรมีน้ำหนัก ประมาณ 100 กิโลกรัม และจะต้องมีน้ำสะอาดให้สุกรกินตลอดทั้งวัน

    วัตถุดิบอาหารสัตว์

    1. อาหารประเภทโปรตีน ได้มาจากพืชและสัตว์
    อาหารโปรตีนจากพืช

    • กากถั่วเหลือง เป็นอาหารโปรตีนจากพืชที่ดีที่สุด ได้มาจากถั่วเหลืองทที่สกัดน้ำมันออก มีโปรตีนอยู่ระหว่าง 40-44 % ใช้เป็นอาหารสุกรในรูปของกากถั่วเหลืองอัดน้ำมัน (แผ่นเค็ก)
    • กากถั่วลิสง เป็นผลิตผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออก มีโปรตีนอยู่ประมาณ 40% ควรจะเลือกใช้แต่กากถั่วลิสงที่ใหม่ มีไขมันต่ำ
    • กากเมล็ดฝ้าย เป็นผลผลิตพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออกจากเมล็ดฝ้าย จะมีโปรตีนประมาณ 40-45 เปอร์เซ็นต์ การใช้อยู่ในขีดจำกัดไม่ควรเกิน 10 % การใช้ในระดับสูงจะทำให้การเจริญเติบโตช้าลง
    • กากมะพร้าว เป็นวัตถุพลอยได้จากโรงงานสกัดน้ำมันมะพร้าว มีโปรตีนประมาณ 20%
    • กากเมล็ดนุ่น เมื่อสกัดน้ำมันออกแล้วจะมีโปรตีนประมาณ 20% เหมาะที่จะใช้เลี้ยงสุกรรุ่นมากกว่าสุกรระยะอื่น ในปริมาณไม่เกิน 15%

    อาหารโปรตีนจากสัตว์

    • ปลาป่น เป็นอาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์ที่ดีที่สุด มีโปรตีนอยู่ระหว่าง 50-60 % คุณภาพของปลาป่นขึ้นอยู่กับชนิดของปลาที่ใช้ทำปลาป่น ปลาป่นมีคุณค่าทางอาหารสูงและใช้เลี้ยงสุกรตลอดระยะถึงส่งตลาดจะทำให้เนื้อมีกลิ่นคาวจัด ดังนั้นจึงควรใช้ในระหว่าง 3-15 %
    • เลือดแห้ง ได้จากโรงฆ่าสัตว์ มีโปรตีนค่อนข้างสูง 80% เป็นโปรตีนที่ย่อยยาก ทำให้การเจริญเติบโตของสุกรต่ำลง ควรใช้ร่วมกับอาหารโปรตีนชนิดอื่น ๆ ไม่ควรเกิน 5%
    • หางนมผง มีโปรตีนปริมาณ 30-40 % และเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายแต่มีราคาแพง จึงนิยมใช้กับอาหารลูกสุกรเท่านั้น
    • ขนไก่ป่น เป็นอาหารที่ได้จากผลิตผลพลอยได้จากโรงงานฆ่าไก่ มีโปรตีนค่อนข้างสูงถึง 85% เป็นโปรตีนที่ไม่สามารถย่อยได้ จึงให้สารอาหารเพียงเล็กน้อย

    อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

    • ปลายข้าว ปลายข้าวเป็นผลิตผลพลอยได้จากการสีข้าว ปลายข้าวมีโปรตีน 8% เป็นวัตถุดิบอาหารที่เหมาะในการเลี้ยงสัตว์ ปลายข้าวที่ใช้เลี้ยงสุกรควรจะเป็นปลายข้าวเม็ดเล็ก
    • รำละเอียด มีโปรตีนประมาณ 12% มีไขมันเป็นส่วนประกอบอยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีคุณสมบัติเป็นยาระบาย โดยเฉพาะสูตรอาหารแม่สุกรอุ้มท้องและเลี้ยงลูก จะช่วยลดปัญหาแม่สุกรท้องผูก
    • ข้าวโพด มีโปรตีนประมาณ 8% และมีเยื่อใยอยู่ในระดับต่ำ เหมาะในการผสมเป็นอาหารสุกร ข้าวโพดที่ดีไม่ควรมีมอดกิน ไม่มียาฆ่าแมลงปลอมปน ไม่ขึ้นรา
    • มันสำปะหลัง ใช้เลี้ยงสัตว์ในรูปมันสำปะหลังตากแห้งที่เรียกว่า มันเส้น มีโปรตีนประมาณ 2% มีแป้งมาก มีเยื่อใยประมาณ 4%
    paineaw

    ปลายข้าว

    rumlaead_1

    อาหารประเภทไขมัน

    • ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ ไขมันวัว ไขมันสุกร ส่วนไขมันจากพืช ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำ เป็นต้น ส่วนใหญ่ใช้ในอาหารสุกรเล็ก โดยเติม 2-5 % ในอาหาร

    อาหารประเภทแร่ธาตุและไวตามิน

    • กระดูกป่น เป็นแหล่งของธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสที่ดีมาก แต่มีคุณภาพไม่แน่นอน
    • ไดแคลเซียมฟอสเฟส ให้ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสทำมาจากกระดูกหรือทำจากหิน
    • เปลือกหอยบด ให้ธาตุแคลเซียมอย่างเดียว
    • หัวไวตามินแร่ธาตุหรือพรีมิกซ์ เป็นส่วนผสมของไวตามินและแร่ธาตุปลีกย่อยทุกชนิดที่สุกรต้องการ และพร้อมที่จะนำมาผสมกับวัตถุดิบ อาหารสัตว์อย่างอื่นได้ทันที

    การกินอาหารของหมู

  • โรคที่เกี่ยวกับหมู

    โรคอหิวาต์หมู

    • โรคอหิวาต์หมูเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงมาก และเป็นเฉพาะหมูเท่านั้น โรคนี้นำความเสียหายมาสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเป็นอย่างมาก และเคยระบาดไปทั่วโลก รวมทั้งทวีปเอเชีย

    สาเหตุของโรค

    • เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งคือ ทอร์เทอร์ซูอิส (Tortor suis)
    • ติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส หรือโดยทางอ้อม จากอาหาร น้ำ ที่มีเชื้อปะปน
    • การเลี้ยงหมู ด้วยเศษอาหาร ที่เก็บรวบรวมจากที่ต่างๆ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคปะปนติดมา หากอาหารที่นำมาเลี้ยงนั้น ไม่ได้ต้มให้เชื้อตายเสียก่อนแล้ว หมูจะได้รับเชื้อทันที

    อาการ

    • หมูที่ติดโรคนี้เริ่มแรกจะมีอาการหงอยซึม เบื่ออาหาร มีไข้สูง มีอาการสั่น หลังโก่ง หูและคอตก ขนลุก ไม่ค่อยลืมตา เยื่อตาอักเสบนัยน์ตาแดงจัด มักมีขี้ตาสีขาวสีเหลืองแถวบริเวณหัวตาก่อน แล้วแผ่ไปเต็มลูกนัยน์ตา อาจทำให้ตาปิดข้างเดียว หรือสองข้าง ผิวหนังบริเวณเนื้ออ่อนๆ เช่น บริเวณท้อง โคนขา ใบหู มีลักษณะช้ำเป็นผื่นแดงปนม่วงเป็นเม็ดๆ เนื่องจากเลือดออกเป็นจุดๆ ใต้ผิวหนัง หมูจะอ่อนเพลีย ชอบนอนซุกตามมุมคอก
    • หมูที่เป็นโรคนี้จะมีอาการท้องผูกในตอนแรก ต่อมาจึงมีอาการอาเจียนเป็นน้ำสีเหลืองๆ มีอุจจาระร่วง และไข้ลดลง มีอาการหอบเข้าแทรก จนกระทั่งตาย หมูที่เป็นโรคนี้ ประมาณร้อยละ ๙๐ มักตาย โรคอหิวาต์หมูเป็นได้กับหมูทุกระยะการเจริญเติบโต

    การป้องกันและรักษา

    • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ให้กับหมูทุกๆ ตัว ปีละครั้ง สำหรับหมูที่เพิ่งแสดงอาการเป็นโรคนี้ อาจฉีดเซรุ่มรักษาให้หายได้

    โรคปากและเท้าเปื่อย

    • โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคระบาดที่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วของสัตว์ที่มีกีบคู่ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ และหมู โรคนี้ไม่ทำให้สัตว์ถึงตายได้ แต่จะซูบผอมลง เพราะกินอาหารไม่ได้ สัตว์ที่กำลังให้นมจะหยุดให้นมชั่วระยะหนึ่ง และจำนวนน้ำนมจะลดลง

    สาเหตุของโรค

    • เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีแบบต่างๆ กัน ในประเทศไทยเป็นแบบเอ โอ และเอเชีย โรคนี้ติดต่อได้ง่ายทางอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคนี้ปนอยู่ หรือติดต่อทางสัมผัสเมื่อหมูคลุกคลีกับสัตว์ที่เป็นโรค นอกจากนี้แมลงวันก็เป็นพาหะของโรคนี้ด้วย

    อาการ

    • อาการหมูที่ป่วยด้วยโรคนี้จะเริ่มเบื่ออาหาร มีไข้สูง จมูกแห้ง เซื่องซึม ภายในปากอักเสบแดง
    • อาการต่อมามีเม็ดตุ่มแดงที่เยื่อภายในปาก บนลิ้น ริมฝีปาก เหงือก เพดาน ตามบริเวณซอกกีบ ตุ่มเหล่านี้จะเกิดพุพอง และกลัดหนอง แล้วแตกเฟะ ทำให้หมูกินอาหารและน้ำไม่สะดวก มีน้ำลายไหลอยู่เสมอ เท้าเจ็บ เดินกะเผลก
    • หมูที่เป็นมากกีบจะเน่าและหลุดออก ทำให้หมูหมดกำลังและตายในที่สุด

    การป้องกันและรักษา

    • ทำวัคซีนเมื่อลูกสุกรอายุประมาณ 7 สัปดาห์ และทำวัคซีนอีกครั้ง ในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา และสำหรับสุกรพ่อแม่พันธุ์ ทำวัคซีน ทุกๆ 4-6 เดือน
ส่งเสริมเกษตร (songsermkased)
  • 772/5-6 ถ.แจ้งสนิท(บ้านไผ่-บรบือ) ต.ในเมือง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 40110
  • 043-306244 , แฟกซ์ 043-306245