-
ข้อมูลทั่วไปของโค
โคถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ นมและผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ รวมถึงเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากโคมีหนังและมูล เพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง ดังนั้นในการเลี้ยงโคต้องมีความเอาใจใส่ดูแล รักโค และมีความรู้เรื่องโคพอสมควร
ในอดีตการเลี้ยงโคส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพเสริมจากการทำไร่นา และเลี้ยงแบบปล่อยเลี้ยงตามทุ่งนา หรือที่สาธารณะต่างๆ คือตอนเช้านำออกไปเลี้ยง ใช้เชือกผูกที่โพร่งจมูก กับเสาหลักไม้ที่ตอกเข้ากับพื้นดิน ตอนเที่ยงนำไปกินน้ำแล้วย้ายสถานที่ ที่ใช้เลี้ยง ตอนเย็นนำกลับเข้าคอก ส่วนคอกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นใต้ทุนบ้าน
ในปัจจุบันการเลี้ยงโค อาศัยพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ ส่งผลให้การเจริญเติบโตหรือการตอบสนองของโคในด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพต่ำเนื่องจากขาดแคลนพืชอาหารในช่วงฤดูแล้ง หรือถ้าเป็นฤดูการทำนา ก็จะมีสารเคมีในพืชสูง ทำให้โคได้รับอาหารและโภชนาการไม่เพียงพอต่อความต้องการส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ การให้อาหารหยาบร่วมกับการเสริมอาหารข้น เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้โคได้รับโภชนะโดยเฉพาะโปรตีนและพลังงานที่เพียพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
การเลี้ยงโคมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจที่เกษตรกรเลือกตามต้นทุน และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ อาทิเช่น การเลี้ยงวัวนม การเลี้ยงวัวขุนหรือโคขุน การเลี้ยงวัวพื้นบ้าน ในที่นี้เราจะพูดถึงการเลี้ยงโคพื้นบ้านสำหรับเกษตรกรรายย่อย
-
ลำดับขั้นตอนในการเลี้ยงโคพื้นเมือง
1. เลือกรูปแบบการเลี้ยง
- 1.1 ผลิตลูกโคขาย เป็นการเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธ์ุ เพื่อผลิตลูกขาย
- 1.2 การเลี้ยงขุน เป็นการเลี้ยงขุนโค ผลิตเนื้อมีคุณภาพ
- 1.3 ผลิตลูกและเลี้ยงขุนทำสองอย่างควบคู่กัน
2. เลือกระดับหรือขนาดของการเลี้ยง ให้เหมาะสมกับความสามารถหรือความพร้อมของตนเอง
- 2.1 เลี้ยงแบบหลังบ้าน ผสมผสานในระบบไร่นา
- 2.2 เลี้ยงในระบบฟาร์มขนาดเล็ก
3. จัดเตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงโค
อาหารหลักของโค คือ อาหารหยาบ เช่น หญ้าสด หญ้ามัก หญ้าแห้ง ฟางข้าว ฯลฯ และอาหารข้นเป็นอาหารเสริมเพื่อให้โคมีสุขภาพสมบูรณ์ ถ้าเลี้ยงโคพื้นบ้านในที่สาธารณะ ซึ่งในปัจจุบันมีที่สำหรับเลี้ยงน้อย โคจะได้อาหารไม่เพียงพอ ควรจัดเตรียมอาหารให้โคในที่ที่ของเราเอง โดย- 1. ปลูกสร้างแปลงหญ้า
- 2. จัดเตรียมอาหารหยาบที่มีในพื้นที่ เช่น ฟางข้าว หรืออาหารหยาบอื่นๆ
- 3. จัดเตรียมอาหารข้นเพื่อให้เสริมบ้างโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง
- 4. จัดเตรียมอาหารแร่ธาตุนี้ก็ถือว่าสำคัญ โคต้องการปริมาณน้อยแต่ต้องมีให้เลือกกินทุกวัน
4. จัดสร้างคอกโค
คอกโคมีความสำคัญ ลักษณะและขนาด ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับสถานที่และจำนวนโคที่เลี้ยง แต่มีหลักเกณฑ์ว่า- – คอกต้องโปร่ง
- – ระบายอากาศดี
- – ระบายน้ำดี
- – มีอ่างน้ำ รางอาหาร ให้โคกินสะดวก
อาจใช้วัสดุที่มี หรือหาง่ายในท้องถิ่น มาประยุกดัดแปลง
-
พันธุ์โคพื้นเมือง
โคพื้นเมืองไทยสามารถจัดแบ่งได้เป็น 4 สายพันธุ์ ตามลักษณะรูปร่างภานนอก ภูมิประภาคและวัตถุประสงค์การเลือก
1. โคพื้นเมืองภาคเหนือ หรือโคขาวลำพูน มีลักษณะ คือ
- เนื้อเขา: สีน้ำตาลส้ม เนื้อละเอียด
- เนื้อกีบ: สีน้ำตาลส้ม
- ขอบตา เนื้อจมูก: สีชมพูไม่มีจุดด่างขาว
- ขนพู่หาง และขนตา: สีขาว
- ขนลำตัว: สีขาวเกรียน
- สีนัยน์ตา: น้ำตาลดำ
- สีหนัง: ชมพูส้ม
- น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ :
เพศผู้ 350-450 กก.
เพศเมีย 300-350 กก.
2. โคพื้นเมืองภาคอีสาน มีลักษณะ คือ
- เนื้อเขา: สีดำ หรือน้ำตาลดำ
- เนื้อกีบ: สีดำ หรือน้ำตาลแกมดำ
- ขอบตา เนื้อจมูก: สีดำ น้ำตาล
หรือน้ำตาลแกมดำ - ขนพู่หาง: สีดำ หรือน้ำตาลดำ
- ขนลำตัว: สีน้ำตาล น้ำตาลแดง
ดำ ขนสั้นเกรียน - สีนัยน์ตา และขนตา: สีดำ หรือน้ำตาล
- สีหนัง: ชมพูส้ม
- น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่:
เพศผู้ 350-400 กก.
เพศเมืย 200-250 กก.
3. โคพื้นเมืองภาคกลาง(โคลาน) มีลักษณะ คือ
- เนื้อเขา และเนื้อกีบ: สีดำ หรือน้ำตาลดำ
- ขอบตา เนื้อจมูก : สีดำ น้ำตาล หรือน้ำตาลดำ
- ขนพู่หาง: สีดำ หรือน้ำตาล
- ขนลำตัว: สีน้ำตาล น้ำตาลแดง ขนสั้นเกรียน
- ขนตา และหนัง: สีดำ หรือน้ำตาล
- น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่:
เพศผู้ 300-350 กก.
เพศเมืย 200-260 กก.
4. โคพื้นเมืองภาคใต้(โคชน)มีลักษณะ คือ
- เนื้อเขา: สีดำ หรือน้ำตาลดำ
- เนื้อกีบ: สีดำ หรือน้ำตาล
- ขอบตา เนื้อจมูก: สีดำ น้ำตาล
หรือน้ำตาลดำ - ขนพู่หาง: สีดำ หรือน้ำตาล
- ขนลำตัว: สีน้ำตาล น้ำตาลแดง
แดง ดำ ขนสั้นเกรียน - ขนตา และหนัง: สีดำ หรือน้ำตาล
- น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่:
เพศผู้ 350-400 กก.
เพศเมืย 230-280 กก.
-
การเลือกซื้อพันธุ์โคพื้นเมือง
การประมาณอายุของโค
การประมาณอายุของโคประมาณได้จากฟันหน้าคูล่าง 4 คู่ ซึ่งจะขึ้นตามจำนวนอายุ ฟันกรามก็สามรถนับได้แต่ไม่นิยมเพราะมองเห็นได้ยาก ฟันโคมี 2 ชุดเหมือนคน ฟันน้ำนมจะมีขนาดเล็ก เนื้อไม่แน่น ในช่วงที่คลอดใหม่ลูกโคจะมีฟันน้ำนม 1 คู่โพล่มาเล็กน้อย และภานใน 1 เดือน จะมีฟันน้ำนมครบ 4 คู่ ซึ่งจะอยู่จนโคอายุครบ 2 ปี ฟันแท้ จะมีขนาดใหญ่ เนื้อฟันแน่
อายุของโค=จำนวนคู่ของฟันแท้+1
การประมาณจำนวนลูกโค
การประมาณจำนวนลูกโดยรอยคอดที่เขาของแม่โค ซึ่งรอยดังกล่าวเกิดจากแคลเซียม และฟอสฟอรัสถูกนำมาใช้ในการสร้างน้ำนม รอยคอดนั้นยังสามารถระบุความถี่ห่างในการให้ลูกของแม่โค ถ้าระยะห่างของรอยสม่ำเสมอกันแสดงว่าแม่โคให้ลูกสม่ำเสมอ แต่ถ้ารอยคอดห่างกันมาก แสดงว่าบางปีให้ลูก บางปีเว้น
การประมาณน้ำหนักโคจากความยาวรอบอก
เนื่องจากเกษตรกรไม่มีเครื่องชั่งในการชั่งน้ำหนักโค จึงอาศัยการประมาณน้ำหนักจากการวัดความยาวรอบอก โดยต้องให้โคยืนนิ่งบนพื้นราบ ขาตรง นำความยาวรอบอกที่วัดได้มาเทียบน้ำหนักตามตารางด้านล่าง
การคัดเลือกโคจากลักษณะภายนอก
ด้านหน้า
– กล้ามเนื้อที่ไหล่และโคนขาหน้านูนเด่น
– กระดูหน้าแข่งมีขนาดใหญ่ บ่งชี้ถึงขนาดของกระดูก
– เสือร้องให้ไม่ใหญ่ และเหนียงคอบางด้านบน
– กล้ามเนื้อที่ไหล่นูน ทำให้เห็นส่วนอกเว้าเล็กน้อย
– การกางของซี่โครงส่วนหน้าน้อย และค่อยๆขยายใหญ่ไปยังส่วนท้าย
– ระยะห่างระหว่างกระดูกเชิงกรานและก้นกบมาก
– กระดูกก้นกบควรอยู่สูงและห่างจากก้นมากๆด้านหลัง
– กล้ามเนื้อส่วนบั้นท้ายหนาและลึก
– ขาทั้งสองข้างใหญ่และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน แต่ตั้งตรง
– ซอกระหว่างขาหลังทั้งสองไม่เต็มแสดงว่ามีเนื้อ ทำให้ต้องยืนห่างกันด้านข้าง
– เสือร้องให้ไม่นูนใหญ่
– กล้ามเนื้อโคนขานูนเด่น กระดูกหน้าแข้งยาวใหญ่
– ส่วนซอกขาหลังเว้าขึ้นเล็กน้อย
– ขาตรงตั้งฉากกับพื้นทั้งขาหน้าขาหลัง
– แนวสันหลังตรงและยาว หมายถึงลำตัวยาวแต่ไม่ลึกนักกรณีเลือกซื้อโคเพศผู้ ให้พิจารณาการว่าง ของขนาดของลูกอัณฑะด้วย คือลูกอันฑะต้องมีขนาดใหญ่สองข้างเท่ากัน ว่างในตำแหน้งพอดี ไม่หดสั้นหรือหย่อนยานเกินไป
-
คอกโคพื้นเมือง
คอกควรสร้างบนที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง ไม่มีน้ำขัง ถ้าเป็นไปได้ควรให้ความยาวอยู่ตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก
ขนาดคอกขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนโค มีหลักการคำนวณง่ายๆคือ- พื้นที่ส่วนที่เป็นหลังคา = ส่วนกว้างที่สุดของท้องโค x ความยาวจากปาก- บั้นท้าย x 2
- พื้นที่ส่วนไม่มีหลังคา = 2เท่าของพื้นที่มีหลังคา
แบบคอกโคสำหรับเกษตรรายย่อยเน้นวัสดุอุปกรณ์ที่มีและหาง่ายในท้องถิ่น
- สถานที่ : ที่ดอนระบายน้ำดี ความยาวคอกอยู่ในทิศตะวันออก-ตะวันตก
- พื้นคอก : ใต้หลังคาเป็นคอนกรีต หรือดินอัดแน่นลาดเท พื้นคอกมีหลังคาควรรองพื้นด้วยแกลบ
- หลังคา : อาจทำจากสังกะสี จาก หรือแฝก
- เสาคอก : ไม้เนื้อแข็ง ไม่ยูคาลิปตัส คอนกรีต
- รั้วกั้น : ไม่เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม่ยูคาลิปตัส สูง 130-150 ซม. รั้วด้านนอก 4 แนว รั้วแบ่งคอก 3 แนว
- รางอาหาร : คอนกรีต รางไม้ อ่างยาง
-
อาหารสำหรับโค
อาหารที่จำเป็นสำหรับโคแบ่งเป็น 4 หมู่ คือ แป้งกับน้ำตาล โปรตีน ไขมัน และน้ำ โคจะสมบูรณ์แข็งแรงก็ต่อเมื่อได้อาหารครบตามที่ร่างกายต้องการเหมือนคนเรา
ประเภทของอาหารโคแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ อาหารหยาบ อาหารข้น และแร่ธาตุ
อาหารหยาบ คือ อาหารที่มีเยื่อใยสูง เช่น หญ้า ถ้่ว เป็นต้น อาหารหยาบเป็นอาหารหลักของโคมี 3 แบบ ดังนี้
- อาหารหยาบสด เช่น หญ้าสด ถั่วอาหารสด
- อาหารหยาบหมัก เช่น หญ้าหมัก ข้าวโพดหมัก ข้าวฟ่างหมัก
- อาหารหยาบแห้ง เช่น หญ้าแห้ง ถั่วอาหารแห้ง ฟางข้าว
อาหารข้น คือ อาหารที่มีความเข้มขนของอาหารสูงโดยเฉพาะโปรตีน เป็นอาหารเสริมที่ให้แก่โคเพื่อโคจะได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
อาหารข้นได้จากการนำวัตถุดิบอาหารสัตว์ต่างๆ เช่น กากถั่ว มันเส้น รำละเอียด ข้าวโพดป่น ใบกระถินป่น เป็นต้น มาคลุกเคล้าผสมให้โคกิน การได้มาของอาหารข้นควรวิเคราะห์สูตรอย่างเหมาะสมแร่ธาตุ โดยปกติแล้วโคจะได้รับแร่ธาตจากอาหารหยาบและอาหารข้น แต่กระนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โคต้องการแร่ธาตุน้อย แต่ต้องการสม่ำเสมอ แร่ธาตุมี 2 แบบคือ
- แร่ธาตุก้อน ซึ่งทางบริษัทเราก็มีจำหน่ายรวมถึงแร่ธาตุอีกหลายชนิดถ้าเกษตรกรต้องการ
- แร่ธาตุผง เป็นการนำแร่ธาตุหลายชนิดมาผสมกันใส่รางให้โคเลียกิน เช่น ไดแคลเซียม กระดูกป่น เกลือ หรือพรีมิกซ์ เป็นต้น